เมนู

อรรถกถาบุคคลผู้มีโทษ เป็นต้น


บทว่า "สาวชฺโช" ได้แก่ มีโทษ. สองบทว่า "สาวชฺเชน กาย-
กมฺเมน"
ได้แก่ ด้วยกายกรรม อันมีโทษ มีปาณาติบาตเป็นต้น. แม้ใน
บททั้งหลายนอกจากนี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน
เรียกว่า สาวชฺโช แปลว่า ผู้มีโทษ เพราะความที่กรรมอันประกอบด้วยไตรทวาร
เป็นของมีโทษ ดุจประเทศที่เต็มไปด้วยของปฏิกูล มีคูถและซากศพเป็นต้น.
สองบทว่า "สาวชิเชน พหุลํ" ความว่า กายกรรมของบุคคลใด
มีโทษเท่านั้นมาก ที่ไม่มีโทษมีน้อย บุคคลผู้นั้นชื่อว่าประกอบด้วยกายกรรมมี
โทษมีมาก ที่ไม่มีโทษมีน้อย ท่านจึงเรียกว่า อปฺปํ อนวชฺเชน แปลว่า
กายกรรมที่ไม่มีโทษมีน้อย. ในคำทั้งหลาย นอกจากนี้ ก็มีนัยนี้นั่นแหละ.
ถามว่า ก็ใครเล่าที่เห็นปานนี้ ?
ตอบว่า ผู้ใด ย่อมสมาทานอุโบสถศีล ย่อมบำเพ็ญศีลในกาลบาง
ครั้งบางคราว ตามธรรมดาของชาวบ้าน หรือตามธรรมดาของชาวนิคม ผู้นั้น
นั่นแหละ ชื่อว่า ประกอบด้วยกรรมอันมีโทษเป็นส่วนมาก ที่ไม่มีโทษเป็น
ส่วนน้อย.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน
เรียกว่า วชฺชพหุโล แปลว่า ผู้มากด้วยโทษ เพราะเหตุที่โทษนั่นแหละเป็น
ของมีมาก เพราะเป็นกรรมอันประกอบไว้ด้วยไตรทวาร.
เหมือนอย่างว่า ดอกไม้ทั้งหลาย มีสีไม่สวย ทั้งมีกลิ่นเหม็น บุคคล
กระทำไว้ไห้เป็นกองมีอยู่ในประเทศแห่งหนึ่ง วัตถุทั้งหลายมีแผ่นผ้าเป็นต้นที่
เขาโยนไป พึงตกไปบนกองดอกไม้อันมีกลิ่นเหม็นนั้นในที่นั้น ๆ ทำให้มีกลิ่น

เหม็นฉันใด บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ บัณฑิตพึงทราบฉันนั้น (หรือ) เหมือน
อย่างว่า วัตถุทั้งหลายมีแผ่นผ้าเป็นต้น ที่เขากระทำให้เป็นกอง พึงมีใน
ประเทศแห่งหนึ่ง ดอกไม้ทั้งหลายมีดอกพุทราเป็นต้นที่มีสีไม่งาม มีกลิ่นเหม็น
พึงตกไปบนกองแห่งผ้านั้นในที่นั้น ๆ ฉันใด บุคคลที่ 3 นี้ คือ ผู้เห็นปาน
นี้ บัณฑิตพึงทราบฉันนั้น. แต่ว่าบุคคลที่ 4 บัณฑิตพึงเห็นดุจถาดทองคำ
อันเต็มแล้วด้วยมธุรสทั้ง 4 เพราะความที่กรรมอันประกอบด้วยไตรทวารเป็น
ของหาโทษมิได้.
บรรดาบุคคล 4 จำพวกเหล่านั้น คือ สาวชฺโช ผู้มีโทษ 1 วชฺช-
พหุโล
ผู้มีโทษมาก 1 อปฺปสาวชฺโช ผู้มีโทษน้อย 1 อนวชฺโช
ผู้ไม่มีโทษ 1. บุคคลพวกที่ 1 จัดเป็นอันธพาลปุถุชน คือ ปุถุชนผู้ทั้ง
บอดทั้งโง่. พวกที่ 2 จัดเป็นโลกิยปุถุชน ผู้กระทำกุศลในระหว่างๆ. พวกที่ 3
ได้แก่ พระโสดาบัน แม้พระสกทาคารี พระอนาคามี ก็สงเคราะห์ด้วยบุคคล
จำพวกที่ 3. พวกที่ 4 ได้แก่ พระขีณาสพ.
จริงอยู่พระขีณาสพนั้น ชื่อว่า อนวชฺโช แปลว่า ผู้ไม่มีโทษเลย
ข้อนี้เป็นนัยแห่งอรรถกถาอังคุตตรนิกาย.
[108] 1. บุคคลผู้อุคฆฏิตัญญู เป็นไฉน ?
การบรรลุมรรคและผล ย่อมมีแก่บุคคลใด พร้อมกับเวลาที่ท่านยก
หัวข้อขึ้นแสดง บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้อุตฆฏิตัญูญู.
2. บุคคลผู้วิปัญจิตัญญู เป็นไฉน ?
การบรรลุมรรคและผล ย่อมมีแก่บุคคลใด ในเมื่อท่านจำแนกเนื้อ
ความแห่งภาษิตโดยย่อ ให้พิศดาร บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้วิปัญจิตตัญญู.

3. บุคคลผู้เนยยะ เป็นไฉน ?
การบรรลุมรรคและผลเป็นชั้น ๆ ไป ย่อมมีแก่บุคคลใด โดยเหตุ
อย่างนี้ คือ โดยอุเทศ โดยไต่ถาม โดยทำไว้ในใจโดยแยบตาย โดยสมาคม
โดยคบหา โดยสนิทสนมกันกับกัลยาณมิตร บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้เนยยะ.
4. บุคคลผู้ปทปรมะ เป็นไฉน ?
บุคคลใด ฟังพุทธพจน์ก็มาก กล่าวก็มาก จำทรงไว้ก็มาก บอกสอน
ก็มาก แต่ไม่มีการบรรลุมรรคผลในชาตินั้น บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้ปท-
ปรมะ.


อรรถกถาบุคคล ผู้อุคฆฏิตัญญู เป็นต้น


การยกญาณ คือปัญญาขึ้น ชื่อว่า อุคฺฆฏิตํ ซึ่งแปลว่า มีปัญญาอัน
เฉียบแหลม ในคำว่า อุคฺฆฏิตญฺญู นี้. อธิบายว่า ย่อมรู้ธรรมเพียงสักว่า อัน
ท่านยกหัวข้อขึ้นแสดงเท่านั้นด้วยญาณ.
ข้อว่า "สห อุทาหฏเวลาย" ได้แก่ ในการนำหัวข้อมาตั้งไว้ คือ
ในขณะสักว่า นำอุเทศนาตั้งไว้เท่านั้น.
บทว่า "ธมฺมาภิสมโย" ได้แก่ การตรัสรู้สัจธรรมทั้ง 4 พร้อม
ด้วยญาณ คือ ปัญญา.
ลองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ เป็นผู้สามารถส่งญาณ
คือ ปัญญาไปตามกระแสแห่งพระธรรมเทศนา ตามที่ท่านตั้งบทมาติกาโดยย่อ
มีนัยเป็นต้นว่า "จตฺตาโร สติปฏฺฐานา" แล้วจึงถือเอาพระอรหัตได้ ท่าน
จึงเรียกผู้นี้ว่า อุคฆฏิตัญญู ซึ่งแปลว่า ผู้เฉียบแหลม เพียงยกหัวข้อธรรม
ขึ้นแสดงเท่านั้นก็รู้ทันที.